เสริมศักยภาพให้ชุมชนโดยใช้แสงไฟ

มาเรียล่าคือนักสาววัยรุ่นจากเองโคมุน พื้นที่ชนบทเล็กๆ ในเปรู ทุกเช้ามาเรียล่าจะตื่นนอนก่อนที่ดวงอาทิตย์ขึ้นเพื่อช่วยครอบครัวทำกิจวัตรประจำวัน ในบ้านของเธอไม่มีไฟฟ้าใช้ ดังนั้นมาเรียล่าจึงต้องใช้ไฟฉายส่องไฟในครัวเพื่อเตรียมอาหารเช้าให้ครอบครัว ส่วนสมาชิกคนอื่นๆ ของครอบครัวเดินทางไปที่ฟาร์มหรือขึ้นไปบนเนินเขาเพื่อเลี้ยงวัว การใช้ตะเกียงเป็นเรื่องปกติในละแวกนั้น เพื่อนบ้านส่วนใหญ่ของมาเรียล่าไม่มีแหล่งจ่ายไฟใช้ภายในบ้าน

ประชากรของเอลคูมุนยังชีพด้วยกาทำอาชีพเกษตรกรรมและปศุสัตว์ พวกเขามีไฟฟ้าใช้อย่างจำกัด สถานที่แห่งเดียวในชุมชนสามารถชาร์จอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้คือโรงสีส่วนกลาง ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านของมาเรียล่าไปประมาณ 15 นาที

นักเรียนมัธยมกลุ่มหนึ่งมีวิสัยทัศนิอยากจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน ดังนั้นพวกเขาจึงร่วมกันพยายามหาทางสร้างโซลูชันเพื่อแก้ปัยหานี้ออกมา

ปลดปล่อยพลังที่อยู่ในตัว

คาร์เมน ไจโร และเนอร์ลีย์ร่วมกันเสนอโซลูชั่นที่เรียกว่า “Trapiche” โครงการนี้ใช้พลังงานจากการขับเคลื่อนที่สร้างขึ้นมาโดยใช้การหมุนมอเตอร์โดยฝูงสัตว์ (อาทิเช่น ม้า) ของโรงสี โรงสีของมาเรียล่าผลิตพลังงานที่สามารถเปิดหลอดไฟหรือชาร์จอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้” ไจโรอธิบาย

“เราเชื่อมต่อลูกรอกเข้ากับสายพาน โดยในขณะที่รอกหมุนไปพร้อมกับม้าที่เดินเป็นวงกลม การเคลื่อนไหวดังกล่าวจะถูกแปลงเป็นไฟฟ้าผ่านหม้อแปลงและแบตเตอรี่ จากนั้นอินเวอร์เตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่ที่ด้านปลายสุดมีเต้าเสียบและพอร์ต USB สำหรับเสียบตัวชาร์จและหลอดไฟได้” เขากล่าวต่อ

อนาคตที่สดใสกว่าเดิม

“การที่โครงการ Trapiche สำเร็จออกมาเป็นรูปเป็นร่าง นั่นทำให้มาเรียล่าและน้องชายของเธอไม่ต้องเดินทางไปโรงสีส่วนกลางเพื่อชาร์จอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกต่อไป” ทีมของเด็กๆ กล่าว จากนั้นหลังจากที่มีไฟฟ้าจ่ายตรงมาถึงบ้านแล้ว เหล่านักเรียนของเอลโคมุนจะสามารถเรียนที่บ้านได้แม้ในช่วงเวลากลางคืน และใช้โทO10:P10รศัพท์มือถือและแท็บเล็ตได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องไฟฟ้าอีกต่อไป

นักเรียนทั้งสามคนได้รับรางวัลชนะเลิศของโครงการ Samsung Solve for Tomorrow Peru อันเป็นผลมาจากความคิดสร้างสรรค์และการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในสังคม ผลงานของพวกเด็กๆ สะท้อนให้ถึงความสำเร็จของพวกเขา พวกเขาได้แสดงความขอบคุณต่อ Samsung สำหรับการจัดสรรองคืประกอบพื้นฐานที่ทำให้โครงการของพวกเขาเป็นจริงขึ้นมาได้ “เรามีความภูมิใจเป็นอย่างมากที่ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อชุมชนของเราเอง เราหวังว่านี่คือการปูทางให้น้องๆ และเพื่อนๆ ของเราที่โรงเรียนของเราก้าวเดินไปข้างหน้าเพื่อสร้างความฝันของพวกเขาให้เป็นจริงเช่นกัน” คาร์เมนกล่าว

แบ่งปันเรื่องราวนี้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่ค้นพบความหลงใหลของตนเอง

ยกระดับการเขียนโค้ดในไทย

Samsung Innovation Campus Thailand คือโครงการจัดสรรการศึกษาที่ทันสมัยซึ่งออกแบบมาเพื่อให้ผู้เรียนอายุน้อยมีเครื่องมือและเทคนิคที่จำเป็นต่อการเติบโตในยุคดิจิตอล โครงการแนวทางใหม่นี้นำโดยทีมผู้สอนที่มีประสบการณ์เตรียมสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบลื่นไหลที่ส่งเสริมการเติบโตและความสำเร็จให้กับเหล่านักเรียนได้เป็นอย่างดี

หลักสูตรการเขียนโค้ดขั้นพื้นฐานที่เปิดสอนในโครงการ Samsung Innovation Campus สร้างผลกระทบที่น่าทึ่งอย่างมาก นักเรียนที่จบการศึกษาตามหลักสูตรนี้มีคะแนนสอบเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 48 เปอร์เซนต์ ซึ่งเป็นความสำเร็จที่ได้รับการตอบรับในเชิงบวกจากทั้งนักเรียนและครู

ผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมพบว่าความรู้ที่ได้รับจากโครงการนี้สามารถนำไปใช้สร้างแรงบันดาลใจในอนาคตได้เป็นอย่างดี ดังนั้นพวกเขาจึงแนะนำให้เพื่อนๆ มาเข้าร่วมโครงการนี้กันอย่างกระตือรือร้น

ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ช่วยแปลงสภาพผู้เรียน

ศิริธร ปิ่นทอง นักเรียนจากโรงเรียนสวนกุหลาบรังสิตกล่าว่า ในตอนแรกเธอขาดความมั่นใจในทักษะการเขียนโค้ด Python ของเธอ อย่างไรก็ตาม มุมมองของเธอเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงหลังจากลงทะเบียนเรียนหลักสูตรการเขียนโค้ดขั้นพื้นฐาน และได้รับคำแนะนำทีละขั้นตอนจากอาจารย์และครูพี่เลี้ยง ศิริธรมีความมั่นมากขึ้นจนมองเห็นเส้นทางอาชีพในอนาคตของเธอในด้านวิศวกรรมได้อย่างชัดเจน

จิชญา ภูวนาทุม จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ก็เป็นผู้หนึ่งที่รับรองโครงการนี้ เธอกล่าวว่า “ฉันขอรับประกันได้เลยว่าโครงการ Samsung Innovation Campus เปี่ยมไปด้วยความรู้และกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น” เธอกล่าวชื่นชมโครงการ Innovation Campus ว่าเป็นเวทีพิเศษที่จัดสรรสภาพแวดล้อมสมบูรณ์แบบสำหรับผู้ที่ใฝ่เรียน จากการเข้าร่วมโครงการ ศิริธรและจิชญาสามารถเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านวิศวกรรมและค้นหาโอกาสใหม่ ๆ ได้อย่างมั่นใจ

ส่งเสริมความกระตือรือร้นในการเขียนโค้ดและการผสานวิทยาการข้อมูลกับชั้นเรียน

โครงการ Samsung Innovation Campus ไม่เพียงแต่ส่งเสริมความกระตือรือร้นของนักเรียนในการเขียนโค้ดเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ผู้สอนปรับปรุงวิธีการสอนของพวกเขาได้อีกด้วย

ณัฐศรัณย์ ณัฐนันท์ธร ครูสอนการเขียนโค้ดและการเขียนโปรแกรมที่โรงเรียนสวนกุหลาบรังสิต ยืนยันว่าโครงการนี้ส่งผลกระทบที่ดีมากต่อนักเรียนของเธอ “ตั้งแต่นักเรียนของฉันเริ่มเรียนกับฉันที่โครงการ Samsung Innovation Campus พวกเขาทุกคนตระหนักว่าการเขียนโปรแกรมไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ตอนนี้พวกเขาสนุกกับการเขียนโค้ดและเขียนโปรแกรมอย่างมาก”

เนียม บินบรอเฮง ครูโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ก็ให้ความเห็นในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน เขาเป็นคนที่พยายามทุ่มเทอย่างหนักในการมอบประสบการณ์การเรียนรู้ที่ลื่นไหลให้กับนักเรียนของเขา เนียมเข้าใจดีถึงความสำคัญของการนำแนวคิดในทางทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติจริง ดังนั้นเขาจึงรวมวิทยาการข้อมูลเข้ากับชั้นเรียนคณิตศาสตร์ของเขา หลังจากที่การสนับสนุนเป็นอย่างดีจากโครงการ Samsung Innovation Campus เขายังสามารถใช้ความรู้ STEM ของเขาและรวมเข้ากับโครงการการสอนของเขาได้อย่างกลมกลืนอีกด้วย

“การศึกษาในปัจจุบันมุ่งเน้นไปที่การเขียนโค้ด และ Samsung สามารถช่วยเราจัดสรรการศึกษาที่เหมาะสมกับเด็กๆ ได้ Samsung มีวิสัยทัศน์ที่ยอดเยี่ยม และ Samsung Innovation Campus เป็นโครงการที่มีประโยชน์มาก” สมร ปะโท ผู้อำนวยการโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยกล่าว ด้วยความทุ่มเทอย่างต่อเนื่องของ Samsung เราหวังว่านักเรียนและครูจำนวนมากขึ้นในประเทศไทยจะได้รับคำชี้แนะและทรัพยากรที่จำเป็นต่อการเติบโตของพวกเขาต่อไปเรื่อยๆ

แบ่งปันเรื่องราวเกี่ยวกับผู้นำในอนาคตบนเส้นทางสู่ความฝันของพวกเขา

ผู้สร้างนวัตกรรมรุ่นเยาว์ท้าทายอนาคต

โครงการ Samsung Solve for Tomorrow มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมแนวคิดที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และการทำงานเป็นทีมเพื่อจัดการกับปัญหาเร่งด่วนของสังคม โครงการนี้มีบทบาทในการมอบรางวัลให้แก่เหล่านักเรียน STEM ผู้มีความเฉลียวฉลาดและความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากความท้าทายของการเรียนรู้ทางไกลและการกักตัวในช่วงหลายปีที่เกิดการระบาดของโควิด

การจัดงานครั้งที่ 13 ของโครงการ Solve for Tomorrow ในสหรัฐอเมริกามีผู้เข้ารอบสุดท้ายระดับชาติที่โดดเด่น 10 ทีมจากกลุ่มผู้ชนะจาก 50 รัฐ ทีมที่เข้ารอบเหล่าเหล่านี้มีความโดดเด่นในแง่ของแนวคิดที่ไม่ธรรมดา ครอบคลุมตั้งแต่การแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมไปจนถึงอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วย

การมีแพ็คเกจรางวัลที่เป็นอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีชนิดต่างๆ มากมายมูลค่า 50,000 ดอลลาร์รอแต่ละทีมอยู่ ดังนั้นนี่จึงเป็นการแข่งขันที่มีเดิมพันสูง ในขณะที่แต่ละทีมพยายามสร้างผลกระทบที่ยั่งยืนต่อชุมชนของพวกเขา เรามาเจาะลึกแนวคิดของพวกเขากันดีกว่า

นวัตกรรมเพื่อสุขภาพของชุมชน

ที่เมืองริชมอนด์ฮิลล์ รัฐจอร์เจีย นักเรียนมัธยมต้นกลุ่มหนึ่งรับรู้ว่าทหารผ่านศึกในชุมชนของพวกเขาต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคเครียดหลังเหตุการณ์ร้าย (PTSD) อย่างไร ดังนั้นพวกเขาจึงร่วมมือกันสร้าง 'Safe Sleep' ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือเพื่อช่วยให้ผู้ใช้นอนหลับได้ดีขึ้น เจสสิก้า หนึ่งในนักเรียนของทีมนี้อธิบายว่า “เป้าหมายของเราคือการช่วยคลายเครียดของผู้ป่วย PTSD โดยที่อุปกรณ์ Safe Sleep จะตรวจสอบชีพจรของผู้ใช้ และเมื่อตรวจพบว่าคนไข้มีชีพจรเพิ่มขึ้นอย่างกะทันหัน เนื่องจากอาการฝันร้ายในตอนกลางคืนอันเป็นผลมาจาก PTSD ระบบก็จะแจ้งเตือนและแนะนำผู้ใช้เกี่ยวกับการฝึกหายใจผ่านแอปทันที”

ส่วนในฟลอริดา ทีมนักเรียนจากโรงเรียนมัธยมปลายสตรอว์เบอร์รีเครสต์ตั้งใจที่จะปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของผู้คนในชุมชนของตนเอง พวกเขามีแรงกระตุ้นจากการสูญเสียเพื่อนร่วมรุ่นเนื่องจากอากาศที่ร้อนจัด พวกเขาจึงริเริ่มโครงการที่ตั้งเป้าจะช่วยชีวิตของเหล่านักกีฬารุ่นเยาว์ขึ้นมา นักเรียนกลุ่มนี้ได้พัฒนา 'Human Health Band' ซึ่งเป็นเซ็นเซอร์แบบสวมใส่ที่ทำงานร่วมกับแอปเพื่อช่วยให้โค้ชสามารถตรวจสอบอุณหภูมิร่างกายของนักกีฬาได้ หากนักกีฬามีอุณหภูมิในร่างกายที่สูงเกินรัดับที่ปลอดภัย อุปกรณ์จะส่งเสียงเตือน “เราได้รับความช่วยเหลืออย่างมากจากผู้เชี่ยวชาญด้านซอฟต์แวร์และโค้ชนักกีฬาจนทำให้เราสามารถสร้างอุปกรณ์ต้นแบบที่ใช้งานได้เป็นอย่างดี” ทีมนักเรียนเล่าให้เราฟัง

ปกป้องสภาพแวดล้อม

นักเรียนหลายทีมชี้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมคือปัญหาเร่งด่วนที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนของพวกเขา โดยในเมืองบลูมิงตัน รัฐอินดีแอนา นักเรียนมัธยมปลายกลุ่มหนึ่งสังเกตเห็นว่าผู้คนมีความเครียดอันเป็นผลมาจากความร้อน ซึ่งเป็นผลมาจากโดมความร้อนที่เกิดขึ้นภายในเมืองที่เป็นเพราะอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นเพื่อเป็นการรับมือกับปัญหานี้ พวกเขาค้นพบวิธีแก้ปัญหาโดยใช้ศิลปะเป็นตัวช่วย พวกเขาออกแบบ 'Temp Mural' ซึ่งทาสีด้วยสีแบเรียมซัลเฟตที่สะท้อนแสงสูงและส่งผลกระทบที่เป็นบวกต่อสภาพอากาศ ภาพจิตรกรรมฝาผนังนี้ทำหน้าที่สะท้อนความร้อนกลับไป กลุ่มนักเรียนมีเป้าหมายที่จะขยายการใช้สีพิเศษนี้ไปทั่วทั้งชุมชนเพื่อสร้างผลกระทบสูงสุด

ในขณะเดียวกัน ที่รัฐนิวแฮมป์เชียร์ กลุ่มนักเรียนจากชมรมหุ่นยนต์ที่โรงเรียนมัธยมเมอริแม็คแวเลย์กำลังพยายามปกป้องแหล่งน้ำของชุมชน “เราสร้าง Shelby หุ่นยนต์รูปเต่าที่ลงน้ำได้ ซึ่งออกแบบมาเพื่อกำจัดมลพิษที่อยู่ในรูปของฟอสฟอรัสจากสระน้ำและแม่น้ำในพื้นที่” กลุ่มนักเรียนอธิบาย โดยที่ Shelby จะกรองฟอสฟอรัสจากน้ำที่อยู่รอบๆ ตัว แล้วปล่อยน้ำสะอาดกลับคืนสู่สิ่งแวดล้อม เป้าหมายของนักเรียนกลุ่มนี้คือการควบคุมระดับฟอสฟอรัสในน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแม่น้ำเมอริแม็ค ซึ่งทำหน้าที่เป็นแหล่งน้ำดื่มที่สำคัญ

นักเรียนทุกคนที่เข้าร่วมโครงการ Solve for Tomorrow ต่างแสดงให้เห็นถึงความวิริยะอุตสาหะและความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมอันน่าทึ่ง เราชื่นชมต่อความพยายามของนักเรียนทุกทีมในการพัฒนาโซลูชันเพื่อประโยชน์ชุมชนของพวกเขา และเราคาดหวังว่าจะค้นพบผู้ชนะระดับชาติของโครงการ Solve for Tomorrow USA ในเร็วๆ นี้

แบ่งปันเรื่องราวนี้เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่สร้างวิธีแก้ปัญหาสำหรับสังคม

แนวทางของเรา

  • เพิ่มขีดความสามารถให้กับคนรุ่นใหม่
    ให้บรรลุศักยภาพสูงสุดของพวกเขา
  • พร้อมบุกเบิกการเปลี่ยนแปลง
  • ทางสังคมในเชิงบวก
เรามุ่งมั่นที่จะพัฒนาชุมชนโลกด้วยแนวคิดเพื่อการเปลี่ยนแปลง และจะอุทิศทรัพยากรเพื่อช่วยเหลือสังคมโลกที่ดีขึ้น พร้อมทั้งดำเนินการพัฒนาและออกแบบนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อความต้องการของประชากรโลกอย่างไม่เคยหยุดนิ่ง

เราเชื่อในศักยภาพของคนรุ่นใหม่

คนเป็นหัวใจสำคัญของทุกเรื่องที่เราทำ เราเชื่อว่าทุกคนจะต้องได้รับประโยชน์จากคำมั่นสัญญาที่ว่า เทคโนโลยีจะช่วยพัฒนาและกำหนดทิศทางของโลก และคนรุ่นใหม่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงอย่างมีจุดมุ่งหมายผ่านนวัตกรรมใหม่ๆ

เราค้นหาความต้องการพิเศษด้านการศึกษาจากทั่วโลก

เพราะการเรียนรู้เป็นประสบการณ์ส่วนตัว เราจึงมุ่งมั่นที่จะใช้ทรัพยากรของเราเพื่อมอบหลักสูตรการศึกษาที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานระดับโลก

เราให้ความสำคัญกับความร่วมมือ

เราได้สัมผัสถึงคุณค่าของการทำงานร่วมกันโดยตรงและผลกระทบที่เรามีต่อการทำงานร่วมกันเมื่อเรามุ่งมั่นที่จะนำไอเดียที่สามารถนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงแก้ไขปัญหาสังคมและเอาชนะความท้าทาย

ข่าวสาร

read more